กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร่วมมือกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พม.) ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินสู่การเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
โดยสามารถสมัครเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ e-Learning การฝึกอบรม และลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงในชุมชน ซึ่งจะได้นับเป็นชั่วโมงจิตสาธารณะ เพื่อนำไปสะสมจำนวน 36 ชั่วโมงต่อปี ตามที่กองทุนกำหนด ทั้งนี้ การสนับสนุนให้ผู้กู้ยืมทำกิจกรรมจิตสาธารณะ ยังเป็นการปลูกฝังการทำความดี โดยสนับสนุนให้ผู้กู้ยืมได้มีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ให้รู้จักการแบ่งปัน เสียสละเพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
โดยหลักสูตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (E–Learning) ประกอบด้วยเนื้อหา 10 บทเรียน
แนวทางการดำเนินงาน
1.ประชาสัมพันธ์ และรับสมัคร ONLINE
1.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ
1.2 รับสมัคร ตามคุณสมบัติ ดังนี้
– อายุ 18 ปีขึ้นไป
– สัญชาติไทย
– มีชื่อในทะเบียนบ้าน และอาศัยในจังหวัดที่จะเป็น อพม. ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
2. อบรมผ่านระบบ E-Learning ขึ้นทะเบียน อพม.
2.1 อบรมตามหลักสูตร Online 10 บทเรียน โดยศึกษาผ่านคลิปบทเรียนทั้ง 10 คลิป และทำแบบทดสอบประเมินความรู้ความเข้าใจท้ายบทเรียน เมื่อผ่านการประเมินจะได้รับวุฒิบัตร ขึ้นทะเบียน และออกบัตรประจำตัวอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร e-Learning ให้มีความเหมาะสม ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนสมัครไว้ล่วงหน้า เมื่อระบบพร้อมให้ใช้งานแล้วจะแจ้งให้ผู้กู้ยืมทราบในลำดับต่อไป
ระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (E–Learning)
โดยผู้กู้ยืมเงินสนใจเข้ารับการอบรมหลักสูตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (E–Learning) ต้องดูคลิปบทเรียนหลัก จำนวน 10 เรื่อง และทำแบบทดสอบท้ายบทเรียนให้ได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป จึงจะผ่านการเรียน E–Learning หลักสูตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (E–Learning)
2.2 ออกวุฒิบัตร บัตรประจำตัว ขึ้นทะเบียน อพม.
ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (E–Learning) จะได้รับวุฒิบัตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บัตรประจำตัวอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และขึ้นทะเบียนเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งบัตรประจำตัวอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอายุ 5 ปีนับแต่วันออกบัตรประจำตัวอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3. ทำกิจกรรมจิตสาธารณะ
3.1 นิเทศงาน โดย พมจ. และอพม. ในพื้นที่
3.2 ปฏิบัติงานตามชุดกิจกรรม (ภารกิจ อพม.)
– ชี้เป้า เฝ้าระวัง แนะนำสิทธิสวัสดิการ
– กิจกรรมพัฒนาชุมชน การสำรวจข้อมูลทางสังคม ฯลฯ
3.3 รับรองการทำกิจกรรม
4. ติดตาม ประเมิน ขยายผล
4.1 ติดตาม และประเมินผลการทำกิจกรรมจิตสาธารณะ
4.2 ทบทวน สรุปบทเรียน เพื่อปรับปรุงและขยายผล
4.3 จัดตั้งเครือข่าย อพม. ในสถานศึกษา และภาคีของ กยศ.
5.เสริมพลังคุณความดี
5.1 ยกย่องเชิดชูเกียรติ ในรูปแบบต่างๆ
– โล่ เกียรติบัตร เข็มเชิดชูเกียรติ
5.2 เผยแพร่คุณความดีในช่องทางต่างๆ